ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้   Click to listen highlighted text! ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์ยอดเขาที่สูงที่สุด ของประเทศไทย

ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย

 

มีพื้นที่ 482.4 ตร.กม มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขต อ.จอมทอง อ.แม่แจ่ม อ.แม่วาง และอ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่

 

แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น

 

มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยหลวง

 

ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก

 

โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า “ดอยอินทนนท์” แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า “ดอยหลวง” ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอ.เชียงดาว

 

แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อ.แม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอ.เชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า “ดอยอินทนนท์”

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ “ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์” ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ

 

ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่

 

และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515

 

และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อ.จอมทอง อ.แม่แจ่ม อ.แม่วาง และอ.ดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร

 

เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6

 

โซนที่พัก-บริการ

โซน ชื่อโซน/กลุ่มที่พัก-บริการ คำอธิบายเพิ่มเติม

โซนที่ 1 อินทนนท์ 101-104 บ้านพักเดี่ยว โซนดงสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 105-107 บ้านพักเดี่ยว โซนดงสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 108-110 บ้านพักเดี่ยว โซนดงสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 1 กิโลเมตร

 

โซนที่ 3 อินทนนท์ 931-934 ค่ายเยาวชน โซนน้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 15 กิโลเมตร

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 011-012 – ห้องประชุม 1-2 ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 

โซน ชื่อที่พัก-บริการ ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก

โซนที่ 1 อินทนนท์ 101 (ข้าวตอกฤาษี) นอน8 น้ำ8 23คน 6,500 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 102 (กุหลาบแดง) นอน2 น้ำ2 8คน 3,000 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 103 (ทานตะวัน) นอน3 น้ำ2 6คน 2,500 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 104 (อินทนิล) นอน3 น้ำ3 7คน 3,000 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 105 (ราชพฤกษ์) นอน4 น้ำ3 10คน 3,500 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 106 (กุหลาบขาว) นอน2 น้ำ2 8คน 3,000 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 107 (ดาวเรือง) นอน1 น้ำ1 3คน 1,000 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 108 (บุษบง) นอน1 น้ำ1 3คน 1,000 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 1 อินทนนท์ 109 (นนทรี) นอน1 น้ำ1 3คน 1,000 เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว

 

โซนที่ 3 อินทนนท์ 931 (ค่ายเยาวชน) นอน1 น้ำ0 15คน 1,500 เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม

 

โซนที่ 3 อินทนนท์ 932 (ค่ายเยาวชน) นอน1 น้ำ0 15คน 1,500 เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม

 

โซนที่ 3 อินทนนท์ 933 (ค่ายเยาวชน) นอน1 น้ำ0 15คน 1,500 เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม

 

โซนที่ 3 อินทนนท์ 934 (ค่ายเยาวชน) นอน1 น้ำ0 15คน 1,500 เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม

 

หมายเหตุ

กรณีที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน

 

และบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าม้ง และ ปกาเกอญอ

สอบถามได้ที่ 053 286 730 (ฝ่ายบ้านพักและบริการข้อมูล)

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ผังบริเวณที่พักและบริการ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

น้ำตกแม่ยะ

อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ ไหลลดหลั่นลงมาถึง 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 260 เมตร

 

กล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร ฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า

 

น้ำตกแม่ยะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เมื่อเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ได้ประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร

 

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
น้ำตกแม่ยะ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

น้ำตกแม่กลาง

เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี และมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้เล่นน้ำหลายแห่ง แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำไหลแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อการเล่นน้ำ

 

น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ กม.ที่ 8 ก่อนถึงด่านตรวจของอุทยานแห่งชาติ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร

 

ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง สามารถเดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่กลางประมาณ 400 เมตร ผ่านเหมืองฝายและภาพเขียนสีผาคันนา

 

น้ำตกแม่กลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
น้ำตกแม่กลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

น้ำตกวังควาย

อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 9.7ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกที่เหมาะในการลงเล่นน้ำในสายน้ำที่เย็นฉ่ำไหลเซาะลดเลี้ยวตามลานหินลดหลั่นเป็นชั้นๆ พื้นน้ำเป็นทรายเม็ดละเอียด

 

น้ำตกวชิรธาร

มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 22 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร

 

สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในยามที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบละอองน้ำจะปรากฏสายรุ้งงดงามขึ้นเหนือธารน้ำ ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า “ผามอแก้ว” หรือภายหลังเรียกว่า ผาแว่นแก้ว

 

น้ำตกวชิรธาร อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
น้ำตกวชิรธาร อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

น้ำตกสิริธาร

ประมาณกิโลเมตร  23  มีทางแยกเข้าไปจุดชมทิวทัศน์น้ำตกสิริธาร ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร คดเคี้ยวไปตามความลาดชันของภูเขา

 

ดอยขุนกลาง

บริเวณกิโลเมตรที่ 31 จะปรากฎสภาพภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคาเนื่องจากป่าถูกถางลงเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น

 

โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจีเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตาจนน่าบันทึกไว้บนแผ่นฟิล์ม อย่างไรก็ตามบุคคลทั่วไปก็ยังรักที่จะเห็นป่ามากกว่าทุ่งหญ้าคาแบบนั้น

 

กลุ่มน้ำตกแม่ปาน

ประกอบด้วยน้ำตก 8 แห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่ปาน น้ำตกผาสำราญ น้ำตกสองพี่น้อง น้ำตกทีลอกุ้ย น้ำตกธารทอง น้ำตกแท่นพระสังข์ น้ำตกป่าบงเบียง และน้ำตกห้วยทรายเหลือง

 

อยุ่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (กม.31) ไปตามถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ไปยังด่านตรวจที่ 2 (กม.38) แยกซ้ายไปทางอำเภอแม่แจ่มประมาณ 6 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อน.2 (แม่แจ่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร

 

ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาสำราญ (น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) เป็นแส้นทางวงรอบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร สามารถเริ่มเดินจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปตามเส้นทางเข้าน้ำตกแม่ปาน

 

จะพบเห็นน้ำตกได้ทั้ง 8 แห่ง และกลับมายังจุดเริ่มต้นบริเวณหน่วยฯ ชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง

 

โครงการหลวงดอยอินทนนท์

สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์เป็นสถานีวิจัย ดอกไม้เมืองหนาวเป็นหลัก พรรณไม้ที่ปลูกมากที่สุดคือเบญจมาศ เพราะมีสีสันสดใส

 

นอกจากนั้นยังมีโครงการ วิจัยสตรอว์เบอรรี่ โครงการศึกษาและรวบรวมพันธุ์เฟินชนิดต่างๆ โครงการวิจัยกาแฟ โครงการวิจัย ฝรั่งคั้นน้ำ ไม้ผล เช่น สาลี่ พลับ กีวี ทิบทิมเมล็ดนิ่ม ฯลฯ

 

ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ เยอบีรา ฯลฯ ผัก เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ เซเลอรี ฯลฯ ยังมีพืชผักสมุนไพร และไม้ผลขนาดเล็ก ซึ่งจัดจำหน่ายภายใต้ตรา “ดอยคำ”รวมทั้ง เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาเทร้าต์สายรุ้ง

 

นอกจากนี้ยังมีประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การทำนาข้าวขั้นบันไดของเผ่ากะเหรี่ยง ประเพณีกินวอของชาวเผ่าม้งบ้านขุนกลาง และแหล่งท่องเที่ยว เพื่อชมความ งามธรรมชาติรอบๆพื้นที่รวมทั้งกิจกรรมดูนกและชมดาว

 

โครงการหลวงฯ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านขุนกลาง ต.ห้วยหลวง เดินทางตามเส้นทางสู่ ดอยอินทนนท์ ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009

 

มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าสู่โครงการฯอีกประมาณ 1 กิโลเมตร โครงการหลวงฯนี้ รับผิดชอบ ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่กะเหรี่ยงและม้งในพื้นที่

 

 

น้ำตกสิริภูมิ

เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

ได้ขนานนามว่า “สิริภูมิ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง-เจ้าพระบรมราชินีนาถ น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านขุนกลาง ใกล้ กม.ที่ 31

 

ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตก 2 สาย ที่ไหลคู่กันลงมาจากหน้าผาสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

 

น้ำตกสิริภูมิ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
น้ำตกสิริภูมิ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

เส้นทางดูนก กม. 38

อยู่ใกล้กับด่านตรวจอุทยานแห่งชาติ กม. ที่ 37.5 ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ นักดูนกมักเรียกเส้นทางนี้ว่า jeep track เนื่องจากเป็นทางเดินราบเรียบสะดวกสบายผ่านไปท่ามกลางป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล

 

ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากป่าดิบเขาบริเวณยอดดอยอินทนนท์ โดยมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น พญาไม้มณฑาดอย ฯลฯ สำหรับนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกมุ่นรกตาแดง นกขมิ้นแดง นกเปลือกไม้ นกปลีกล้วยลาย นกติ๊ดแก้มเหลือง ฯลฯ

 

รวมทั้งมีนกหายากซึ่งมีรายงานการพบบนเส้นทางนี้ คือ นกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว

 

น้ำตกห้วยทรายเหลือง

เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลแรงตลอดปี และไหลจากหน้าผาลงมาเป็นชั้น ๆเข้าทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน ห่างจาก ที่ว่าการอ.แม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร

 

แยกจากทางหลวง หมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจ กิโลเมตรที่ 38 ไป ตามทางหลวงหมายเลข 1192 สายอินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 6 กิโลเมตรจะมีป้ายบอก

 

ทางไปน้ำตก เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นทางดินแดงในช่วงหน้าฝนทางลำบากมากต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ

 

 

อ่างกาหลวง

เส้นทางนี้สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสา สมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานทุ่มเทให้กับอินทนนท์ และได้ เสียชีวิตที่นี่ด้วยโรคหัวใจ เส้นทางนี้มีระยะทาง 1,800 เมตร พื้นที่นี้เป็นหนองน้ำซับในหุบเขา

 

จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ ป่าดิบเขาระดับสูง ลักษณะของพรรณไม้เขตอบอุ่นผสมกับเขตร้อนที่พบเฉพาะในระดับสูง การสะสมของ อินทรียวัตถุในป่าดิบเขา ลักษณะ อากาศเฉพาะถิ่น

 

พืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้ ลักษณะของต้นน้ำลำธาร และ ลักษณะของต้นไม้บนดอยอ่างกา เช่น ต้นข้าวตอกฤาษีที่ขึ้นตามพื้นดิน (ข้าวตอกฤาษี เป็นพืชที่ต้องการ ความ อุดมสมบูรณ์สูงจะขึ้นในที่สูงกว่า 2,000 เมตร เท่านั้น และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้น อากาศเย็น) กุหลาบพันปี เป็นต้น

 

ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อีกหลายเส้น เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กิโลเมตรที่ 38 และ เส้นทางศึกษา ธรรมชาติกลุ่มน้ำตกแม่ปาน เป็นต้น

 

แต่ละเส้นใช้เวลาในการเดินต่างกัน ตั้งแต่ 20 นาที – 7 ชั่วโมง และเหมาะที่จะศึกษาสภาพธรรมชาติที่ต่างกันด้วย ศึกษารายละเอียดเส้นทางได้จากที่ทำการอุทยานฯ และจะ ต้องติดต่อขอ เจ้าหน้าที่นำทาง

 

จากที่ทำการฯ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากร ธรรมชาติ และปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้น

 

และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้สถานที่เพื่อการ พักค้างแรมหรือจัด กิจกรรมอื่น นอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาต จากหัวหน้า อุทยานฯ เป็นลายลักษณ์อักษร

 

 

จุดชมทิวทัศน์และพระมหาธาตุเจดีย์

จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก

 

จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน สำหรับทางเข้าพระมหาธาตุฯ ทั้งสององค์อยู่ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ไปอีกประมาณ 500 เมตร

 

กองทัพอากาศสร้างพระมหาธาตุทั้งสององค์ขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บริเวณรอบองค์พระมหาธาตุฯ ประดับตกแต่งด้วยไม้ดอกเมืองหนาวสวยงาม

 

 

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน

อยู่ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา

 

ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น

 

ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสงแดดจ้าและสายลมแรง ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน

 

จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่าง ช้ามะยมดอยและ ต่างไก่ป่า ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา ทางช่วงสุดท้ายจะเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งและไปสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้นของเส้นทาง

 

รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

 

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมคือ เดือนธันวาคม-มกราคม ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เส้นทางนี้ปิดให้บริการเพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว

 

กิวแม่ปาน ดอยอินทนนท์
กิวแม่ปาน ดอยอินทนนท์
กิวแม่ปาน ดอยอินทนนท์
กิวแม่ปาน ดอยอินทนนท์

 

ผาแง่มน้อย

ผาแง่มน้อย “แง่ม” เป็นภาษาประจำถิ่นของภาคเหนือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ง่าม” ในภาษาไทย เป็นคำนามใช้เรียกลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น 2 หรือ 3 ผาแง่มน้อยเป็นหิน 2 แท่ง

 

ตั้งอยู่คู่กันริมเส้นทางเดินชมธรรมชาติกิ่วแม่ปาน หินที่ประกอบขึ้นเป็นผาแง่มน้อยได้แก่หินแกรนิตเนื้อปานกลางยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว

 

หินแกรนิตในบริเวณนี้เกิดจากหินหลอมเหลวที่ดันตัวตัดผ่านหินไนส์ ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 530 ล้านปี ยุคพรีแคมเบรียน เมื่อหินหลอมเหลวที่ยังอยู่ใต้ผิวโลกเย็นตัวลง มวลของหินแกรนิตมีการหดตัว

 

และปรากฏรอยแตกบริเวณขอบของมวลหิน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ กระบวนการก่อเทือกเขา ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวขึ้นเป็นภูเขา

 

ปรากฏการณ์ที่สำคัญต่อมาหลังจากที่หินปรากฏบนผิวโลกคือการผุพังอยู่กับที่ และการกัดกร่อน หินแกรนิตเกิดจากแร่ประกอบหินหลายชนิด เช่น ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์ ไบโอไทต์ และมัสโคไวท์

 

แร่ประกอบหินแต่ละชนิดมีอัตราการผุพังที่ต่างกัน เช่น แร่เฟลด์สปาร์ จะผุพังง่าย และเร็วกว่าแร่ควอรตซ์

 

ผาแง่มน้อยเป็นหินแกรนิตเช่นเดียวกับหินที่อยู่ข้างเคียง แต่เนื้อหินของผาแง่มน้อยมีปริมาณแร่ควอรตซ์มากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง และหินข้างเคียงก็มีปริมาณแร่เฟลด์สปาร์ที่มากกว่าหินส่วนที่เป็นหน้าผา

 

ผาแง่มน้อยจึงเป็นผลลัพธ์ของความต่างของอัตราเร็วในการผุพัง โดยส่วนที่เป็นผาแง่มน้อยมีความทนทานต่อการผุพังมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับความถี่ของรอยแตกที่หินข้างเคียงมีมากกว่าหินส่วนที่เป็นผาแง่มนี้ด้วย

 

ถ้ำบริจินดา

เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน

 

นอกจากนี้ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุ แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ทางเข้าอยู่ทางขวามือห่างจากด่านตรวจไปประมาณ 500 เมตร

 

เข้าไปตามทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จนสุดทางที่ริมน้ำแม่หอย จากนั้นต้องเดินข้ามลำน้ำและผ่านป่าไผ่ไปอีก 1 กิโลเมตร จึงถึงถ้ำบริจินดา

 

หมู่บ้านม้งขุนยะน้อย

เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมม้ง บ้านขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนประมาณ 70 หลังคาเรือน

 

อยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากพื้นที่สูงได้ไกล บริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีสภาพป่าดิบเขาที่ยังคงความสมบูรณ์ และการอนุรักษ์ป่า “ดงเซ้ง” และต้นไม้ขนาดใหญ่ 7-8 คนโอบ

 

การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งนี้ยังคงใช้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมๆ อยู่มาก เช่น การแต่งกาย การตีมีดแบบดั้งเดิม การโม่ข้าวหรือข้าวโพดด้วยโม่หิน

 

การทำเหล้าข้าวโพด การสร้างบ้าน การทอผ้า และการจัดประเพณีต่างๆ เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay

 

หมู่บ้านกะเหรี่ยงบ้านแม่แอบใน

เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ ชมการดำนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การทอผ้า การตำข้าว การขับกล่อมบทกลอน “ทา” “ซอ”

 

การเล่นเตหน่า รำดาบ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การเลี้ยงผีฝาย ผีนา เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay

 

ยอดดอยอินทนนท์

จุดสิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 1009 เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศ หนาวเย็นตลอดปี

 

เป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหนดอยหลวง(ดอยอินทนนท์)เป็นอย่างมากต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน

 

ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่

 

หมุดจากกรมแผนที่ทหาร เป็นสิ่งยืนยันว่าจุดๆนี้เป็นจุดที่สูงที่สุดในสยามประเทศ
หมุดจากกรมแผนที่ทหาร เป็นสิ่งยืนยันว่าจุดๆนี้เป็นจุดที่สูงที่สุดในสยามประเทศ

 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติได้ตัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ตามแนวเส้นทางถนนสายยอดดอยอินทนนท์-แม่แจ่ม ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว ก่อนใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานแห่งชาติ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อน

 

• เส้นทางสายยอดดอย-น้ำตกสิริภูมิ เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง เหมาะสำหรับศึกษาความแตกต่างของพรรณไม้ในระดับความสูงที่ถูกทำลาย การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และชมทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง

 

• เส้นทางสายถ้ำบริจินดา เป็นทางระยะสั้น เริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 8.5 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ สิ่งมีชีวิตในถ้ำ การเกิดหินงอกหินย้อย สภาพป่าเบญจพรรณผสมกับป่าเต็งรัง

 

• เส้นทางสายสบหาด-บ้านแม่กลางหลวง ระยะทางประมาณ 900 เมตรใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าเต็งรังผสมป่าสน คุณประโยชน์ของป่า และชมน้ำตกตาดน้อย

 

• เส้นทางสายผาแว่นแก้ว-น้ำตกวชิรธาร-บ้านสบหาด ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าผสมผลัดใบ โดยเฉพาะในเดือนมกราคม ผืนป่าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง น้ำตกวชิรธาร ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านสบหาด การทำการเกษตร และที่ผาแว่นแก้วซึ่งมีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อายุ 2.000-3,000 ปี

 

• เส้นทางสายกิโลเมตรที่ 38–น้ำตกสิริภูมิ เริ่มต้นริมถนนกิโลเมตรที่ 38 ตรงข้างทางแยกไปอำเภอแม่แจ่ม เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 5.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการดูนกที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล

 

• เส้นทางสายปางสมเด็จ-ผาหมอน เป็นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่าโดยเฉพาะ และต้องการศึกษาเส้นทางเดินป่าสมัยที่ยังไม่มีถนนตัดขึ้นดอยอินทนนท์

 

ศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว
อยู่บริเวณใกล้กับยอดดอย แสดงนิทรรศการเรื่องราวของดอยอินทนนท์จากอดีตถึงปัจจุบัน ให้ความรู้ทั้งสภาพ ทางภูมิศาสตร์ ทางชีววิทยา ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตซึ่งบางชนิดหาดูได้ที่นี่แห่งเดียวในเมืองไทยผู้มาเยือนจะได้รับ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย

 

 

การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

จากตัวเมืองเชียงใหม่ทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่-จอมทอง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 57 ก่อนถึงอ.จอมทอง 1 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 สายจอมทอง-อินทนนท์

 

ระยะทาง 48 กิโลเมตรถึงยอดดอยอินทนนท์ เป็นถนนลาดยางอย่างดีแต่ทางค่อนข้างสูงชัน รถที่นำขึ้นไปจะต้องมีสภาพดี

 

นักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียมบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 8 ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถขึ้นรถสองแถวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารหรือที่น้ำตกแม่กลาง ซึ่งจะเป็นรถโดยสารประจำทางไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯตรงหลักกิโลเมตรที่ 31

 

และหมู่บ้านใกล้เคียง ค่าโดยสาร 20 บาทต่อคน แต่หากต้องการจะไปยังจุดต่างๆ ต้องเหมาไปคันละประมาณ 800 บาท

 

และมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 9 ของเส้นทางหมายเลข 1009 มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ และมีนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ สัตว์ป่า และอื่นๆ

 

รถที่นำขึ้นไปจะต้องมีสภาพดีระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ขึ้นไปจนถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 106 กิโลเมตร

 

รถโดยสารประจำทาง


นั่งรถสายเชียงใหม่-จอมทองบริเวณประตูเชียงใหม่ จากนั้นขึ้นรถสองแถวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร(เลยทางขึ้นไปอีกประมาณ 1 กม.)หรือที่น้ำตกแม่กลาง

 

ซึ่งจะเป็นรถโดยสารประจำทางไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯตรงหลักกิโลเมตรที่ 31 และหมู่บ้านใกล้เคียงแต่หากต้องการจะไปยังจุดต่าง ๆ ต้องเหมาไป

 

ที่พักพื้นที่ อ.จอมทอง

 

สถานที่กางเต็นท์/เต็นท์


อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว  สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์

 

และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง

 

รายการที่ 1
– เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
– เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
– เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
– เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน


แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม

 

รายการที่ 2
– เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
– เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
– เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
– เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน


แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม

 

กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้

 

1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน


2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน

 

ที่พักแรม/บ้านพัก

บริเวณที่ทำการมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม รวมถึงบ้านพัก ร้านอาหาร และสถานที่กางเต็นท์สำรองที่พักล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 02 579 7223, 02 579 5734

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

119 หมู่ที่ 7 ต.บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160

 

โทรศัพท์ 053 286 7289 (บ้านพัก), 053 286 730 (VoIP) โทรสาร 053 286 728  อีเมล inthanon_np@hotmail.com

 

*เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)

 

การใช้สถานที่เพื่อการพักค้างแรมหรือจัดกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าอุทยานฯเป็นลายลักษณ์อักษร

 

@trip

@trip

บริการทำเว็บ Responsive web = เว็บบนมือถือ สมาทโฟน แทปเลต คอมพิวเตอร์ เว็บเดียวที่รองรับการแสดงผลได้หลากหลายอุปกรณ์ ในราคาเพียง 3,990 บาทต่อปี (ปีแรกค่าจัดทำ +6,000 บาท)
Previous post สภาพทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่
Next post แม่สาย-วัดท่าตอน-อ่างขาง
Close
Click to listen highlighted text!