ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้   Click to listen highlighted text! ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ ทริปนี้ที่เชียงใหม่ มาร่วม เดินทาง ทริปของคุณ ไปกับเราที่นี่เร็วๆนี้

ที่ตั้งและขนาดพื้นที่

– ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศไทย เส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,027 ฟุต (310 เมตร) ห่างจากกรุงเทพมหานคร 696 กิโลเมตร


– มีพื้นที่ประมาณ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,566,910 ไร่ จำแนกเป็น


– พื้นที่ป่าไม้ 69.92 % (8,787,656 ไร่)


– พื้นที่ทำการเกษตร 12.82 % (1,835,425 ไร่)


– พื้นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 17.26 % (2,167,971 ไร่)

 

ลักษณะภูมิอากาศ

มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25C
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20C

 

ลักษณะภูมิประเทศ

โดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาและป่าละเมาะ มีที่ราบอยู่ตอนกลางตามสองฟาก
ฝั่งแม่น้ำปิง มีภูเขาสูงที่สุดในประเทศไทย คือ “ดอยอินทนนท์” สูงประมาณ 2,565 เมตร อยู่
ในเขตอ.จอมทอง

 

นอกจากนี้ยังมีดอยอื่น ๆ ที่มี ความสูงรองลงมาอีกหลายแห่ง เช่น
ดอยฟ้าห่มปก สูง 2,297 เมตร ดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,195 ดอยสุเทพ สูง 1,678 เมตร
สภาพพื้นที่แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ


พื้นที่ภูเขา ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 80% ของพื้นที่จังหวัด เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกพื้นที่ราบลุ่มน้ำและราบเชิงเขา

 

กระจายอยู่ทั่วไประหว่างหุบเขาทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้อันได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำฝาง และลุ่มน้ำแม่งัด เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตร

 

เนื้อที่ป่าไม้

มีเนื้อที่ป่าไม้เหลืออยู่ 8,787,500 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 69.93 ของเนื้อที่จังหวัด

 

ประชากรและชุมชนพื้นที่สูง

มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,673,930 คน แยกเป็น ชาย 817,858 คน หญิง 856,072 คน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 83 คน/ตร.กม. (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553)

 

– กระจายตามอำเภอต่าง ๆ 20 อำเภอ จำนวน 1,251 หมู่บ้าน


– มีจำนวนประชากร 312,447 คน เป็นชาย 157,367 คน เป็นหญิง 155,080 คน 70,820 ครอบครัว


– อำเภอที่มีประชากรชุมชนบนพื้นที่สูงมากที่สุด ได้แก่ อมก๋อย รองลงมาได้แก่
อำเภอแม่แจ่ม อำเภอเชียงดาว อำเภอฮอด


– มีกลุ่มชนต่าง ๆ รวม 13 ชนเผ่า เป็นชาวเขา มีจำนวน 7 เผ่า ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง
เมี่ยน (เย้า) อาข่า(อีก้อ) ลาหู่(มูเซอ) ลีซอ(ลีซู) และ ลัวะ จำนวน 229,382 คน เป็นชนกลุ่ม
น้อย จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ ปะหล่อง ไทยใหญ่ ไทยลื้อ จีนฮ่อ และอื่น ๆ รวมกันเป็น
จำนวน 34,022 คน และคนไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูง จำนวน 49,043 คน


– ชนเผ่ากะเหรี่ยง มีจำนวนมากที่สุด คือ 128,880 คน รองลงมาได้แก่ ไทย มูเซอ ม้ง

 

เชียงใหม่
เชียงใหม่

ลักษณะทางการปกครอง

– แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 25 อำเภอ 204 ตำบล และ 2,066 หมู่บ้าน


– มีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ดังนี้


1) หน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง จำนวน 166 หน่วยงาน


2) หน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 34 หน่วยงาน


3) หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย


องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง


เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง


เทศบาลเมือง จำนวน 3 แห่ง


เทศบาลตำบล จำนวน 93 แห่ง


องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 113 แห่ง

 

สภาพทางสังคม การศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี

ประชากรจังหวัดเชียงใหม่มีผู้นับถือ ศาสนาพุทธ 91.80 % ศาสนาอิสลาม 1.17%
ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซิกส์ 0.02% ศาสนาอื่น ๆ 1.41%

 

วัดที่สำคัญในเชียงใหม่ ตามหลักทักษาเมือง

 

1) วัดเจดีย์หลวง ศูนย์กลาง


2) วัดสวนดอก (บริวารเมือง) ทิศตะวันตก


3) วัดเจ็ดยอด (อายุเมือง) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ


4) วัดเชียงยืน (เดชเมือง) ทิศเหนือ


5) วัดชัยศรีภูมิ (ศรีเมือง) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ


6) วัดบุพผาราม (มูลเมือง) ทิศตะวันออก


7) วัดชัยมงคล (อุตสาหเมือง) ทิศจะออกเฉียงใต้


8 ) วัดนันทาราม (มนตรีเมือง) ทิศใต้


9) วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) กาลกิณีเมือง ทิศตะวันออกเฉียงใต้

 

วัดที่ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และการท่องเที่ยว ได้แก่ วัดพระธาตุดอยสุเทพราช
วรวิหาร วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดแสนฝาง วัดพันเตา วัดพันอ้น ฯลฯ

 

ประเพณีสำคัญจังหวัดเชียงใหม่

– เดือนเมษายน (หรือเดือนเจ็ด ตามการนับเดือนของชาวล้านนา)ประเพณีสงกรานต์ ดำหัว ประเพณีสืบชะตาบ้านเมือง บวชลูกแก้วและพิธีสู่ขวัญ


– เดือน พฤศจิกายน (หรือเดือน ยี่ ตามการนับเดือนของชาวล้านนา)
ประเพณีเดือนยี่เป็ง (ลอยกระทง)

 

การศึกษา

จังหวัดเชียงใหม่ มีสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,146 แห่ง ในจำนวนนี้มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา 9 แห่ง อาชีวศึกษา 7 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 8 แห่งมีครู/อาจารย์ 21,155 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 440,706 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษาเป็น 1:21


จำนวนนักเรียนนักศึกษาในสังกัด แยกเป็น


1) ระดับก่อนประถม จำนวน 58,654 คน


2) ระดับประถมศึกษา จำนวน 139,288 คน


3) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 75,804 คน


4) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ จำนวน 45,713 คน


5) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ จำนวน 22,203 คน


6) ระดับอุดมศึกษา จำนวน 99,044 คน

 

บริการสาธารณสุข

สถานพยาบาล (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. 2552)


มีสถานพยาบาลแผนปัจจุบัน ทั้งสิ้น 47 แห่ง 5,752 เตียง


– สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 23 แห่ง จำนวนเตียง 1,375 เตียง


– สังกัดกระทรวงอื่น 10 แห่ง จำนวนเตียง 2,808 เตียง


– เอกชน 14 แห่ง จำนวน 1,569 เตียง

 

บุคคลากรทางสาธารณสุข

ก) แพทย์ 1,167 คน อัตราส่วนแพทย์ :ประชากร เท่ากับ 1 : 1,440


ข) พยาบาล แยกเป็น

– พยาบาลวิชาชีพ 4,169 คน อัตราส่วนพยาบาล : ประชากร 1: 403 คน


– พยาบาลเทคนิค 165 คน อัตราส่วนพยาบาล : ประชากร 1: 10,186 คน


ค) เภสัชกร 155 คน อัตราส่วนเภสัชกร : ประชากร 1:5,659 คน


ง) ทันตแพทย์ 155 คน อัตราส่วนทันตแพทย์ : ประชากร 1: 13,445 คน

 

ข้อมูลสุขภาพ

– อัตราการเกิด 9.86 ต่อ 1,000 คน


– อัตราการตาย 7.75 ต่อ 1,000 คน

 

สาเหตุการป่วยที่สำคัญ 10 อันดับของจังหวัดเชียงใหม่ (จากสถิติผู้ป่วยนอก)

1) ระบบหายใจ


2) ระบบกล้ามเนื้อฯ


3) โรคระบบย่อยอาหาร


4) ระบบไหลเวียนโลหิต


5) โรคติดเชื้อและปรสิต


6.โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อโภชนาการและเมตะบอลิซึม


7. โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง


8.โรคระบบสืบพันธ์ร่วมปัสสาวะ


9.สาเหตุภายนอกอื่น ๆ ที่ทำให้ป่วยหรือตาย


10.ภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรม

 

สภาพเศรษฐกิจ

1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GDP) ปี 2551 มีมูลค่า 130,129.54 ล้านบาท
– ภาคเกษตร 14,997.32 ล้านบาท (11.53%) นอกภาคเกษตร 115,132.22 ล้านบาท
(88.47%)


2) รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่าและบริการทาง
ธุรกิจ 21.64% มูลค่า 28,160.70 ล้านบาท รองลงมาเป็น


– สาขาการขายส่ง ขายปลีก 13.73% มูลค่า 28,160 ล้านบาท


– สาขาเกษตรกรรม 11.35% มูลค่า 17,861.71 ล้านบาท


– สาขาการศึกษา 9.37% มูลค่า 12,187 ล้านบาท


– สาขาตัวกลางทางการเงิน 8.95% มูลค่า 11,645.98 ล้านบาท


3) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เฉลี่ยร้อยละ 3.11


4) รายได้ประชากรต่อหัว เฉลี่ย 81,830.71 บาท/คน/ปี อยู่ที่อันดับที่ 3 ของภาคเหนือ
รองจากจังหวัดลำพูน และจังหวัดกำแพงเพชร


5) รายได้ประชากรในเขตชนบท เฉลี่ย 49,936 บาท/คน/ปี (จปฐ ปี 2553)


– อำเภอที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำที่สุด (จนที่สุด) คือ อ.อมก๋อย 27,158 บาท/คน/ปี


– อำเภอที่รายได้สูงสุด คือ อ.สันทราย 56,061 บาท/คน/ปี

 

การท่องเที่ยว

ปี 2551 – จำนวนนักท่องเที่ยว 5,313,352 คน ชาวไทย 3,842,549 คน (72.31%)
ต่างประเทศ 1,470,802 คน (27.69%)


– รายได้ 38,135.33 ล้านบาท คนต่างประเทศ 15,206.49 ล้านบาท (52.03%)
คนไทย 22,928.84 ล้านบาท (47.97%)


– ลดลงจากปีที่แล้ว 758.92 ล้านบาท หรือ 1.95% (ปี 2550 มีรายได้
38,894.25 ล้านบาท)


– ระยะเวลาพักเฉลี่ย 2.65 วัน

 

ปี 2552 – จำนวนนักท่องเที่ยว 4,343,090 คน ชาวไทย 3,101,790 คน (71.42%)
ต่างประเทศ 1,241,300 คน (28.58%)


– รายได้ 32,605.79 ล้านบาท คนต่างประเทศ 13,493.77 ล้านบาท (41.39%)
คนไทย 19,112.02 ล้านบาท (58.61%)


– ลดลงจากปีที่แล้ว 5,529.54 ล้านบาท หรือ 14.50%


– ระยะเวลาพักเฉลี่ย 3.503 วัน


– จำนวนโรงแรมที่พัก 418 แห่ง ห้องพัก 20,816 ห้อง

 

เชียงใหม่
เชียงใหม่
chiangmai-04
ถนนคนเดินเชียงใหม่

การเกษตร

– พื้นที่การเกษตรของจังหวัด มีประมาณ 1,835,425 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าว 515,385 ไร่
ปลูกพืชไร่ 192,063 ไร่ ปลูกพืชสวน 536,697 ไร่ และอื่น ๆ 367,105ไร่


– พื้นที่ที่ได้รับน้ำจากชลประทาน จำนวน 1,301,604 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 80% ของ
พื้นที่การเกษตร


– ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ ปี 2550/51 ของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่


– ข้าว 399,408 ตัน มูลค่า 2,396 ล้านบาท


– ลำไย 298,255 ตัน มูลค่า 3,280 ล้านบาท


– ลิ้นจี่ 40,795 ตัน มูลค่า 458 ล้านบาท


– กระเทียม 65,729 ตัน มูลค่า 792 ล้านบาท


– หอมแดง 44,450 ตัน มูลค่า 286 ล้านบาท


– หอมหัวใหญ่ 48,031 ตัน มูลค่า 310 ล้านบาท

 

การอุตสาหกรรม

– จำนวนโรงงาน 2,265 แห่ง เงินทุน 36,350 ล้านบาท จ้างแรงงาน 43,713 คน


– อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตรอุตสาหกรรมขนส่ง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม


– อุตสาหกรรมที่ได้การส่งเสริมการลงทุน(BOI) ปี 2552 จำนวน 17 โครงการ เงิน
ลงทุน 1,227.50 ล้านบาท จ้างแรงงาน 611 คน

 

การลงทุนจากต่างประเทศผ่าน BOI ภาคเหนือ
ประเทศที่มีการลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่สูงสุด ได้แก่ ประเทศไต้หวัน อันดับสองได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น อันดับสามได้แก่ประเทศออสเตรเลีย

 

การพาณิชยกรรม

ในปี 2552 มีนิติบุคคลจดทะเบีนนตั้งใหม่ จำนวน 1,119 ราย แยกเป็นบริษัทจำกัด
524 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 586 ราย และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 9 ราย จดทะเบียน
เลิก 601 ราย แยกเป็นบริษัทจำกัด 257 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 339 ราย และห้างหุ้นส่วน
สามัญนิติบุคคล 5 ราย


มีนิติบุคคลที่ยังคงอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 10,660 ราย แยกเป็นบริษัท
จำกัด 5,531 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 5,051 ราย และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 78 ราย

 

@trip

@trip

บริการทำเว็บ Responsive web = เว็บบนมือถือ สมาทโฟน แทปเลต คอมพิวเตอร์ เว็บเดียวที่รองรับการแสดงผลได้หลากหลายอุปกรณ์ ในราคาเพียง 3,990 บาทต่อปี (ปีแรกค่าจัดทำ +6,000 บาท)
Previous post นักปั่นพิชิตอินทนนท์ คนพันธ์อึดครั้งที่4 (รุ่น50กิโล)
Next post อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
Close
Click to listen highlighted text!